RSS

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10

Google      YouTube         โรงเรียนพระแสงวิทยา        สพม.11

นิทานเวตาล เรื่องที่ 10 

0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%88%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%88%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%88%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%AA

พระราชวรวงศ์เธอ ฯ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์

                พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ( His Highness Prince Rajani Chamcharas , Prince Bidyalongkorn ) หรือ น.ม.ส. (๑๐ มกราคม พ.ศ. ๒๔๑๙ –๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ ) ทรงเป็นปราชญ์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และเป็น พระบิดาแห่งสหกรณ์ไทย ทรงเป็นต้นราชสกุล

“ รัชนี ”  สิ้นพระชนม์เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๓ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘  ด้วยพระโรคหลอดโลหิตในสมองตัน สิริพระชนมายุ ๖๘ ปี ๖ เดือน ๑๓ วัน

พระกรณียกิจ  เช่น

–  พ.ศ. ๒๔๔๒        ทรงเข้ารับราชการในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ ทรงรับตำแหน่งเป็นผู้ช่วยอธิบดีกรมตรวจและกรมสารบาญชี

–  พ.ศ. ๒๔๔๔        ทรงย้ายเป็นปลัดกรมธนบัตร และเจริญก้าวหน้าเป็น ผู้แทนเจ้ากรมธนบัตร เจ้ากรมกองที่ปรึกษาอธิบดีกรมประสาปน์สิทธิการ อธิบดีกรม

ตรวจและกรมสารบาญชี อธิบดีกรมพาณิชย์และสถิติพยากรณ์ ทรงจัดตั้งและวางรากฐานกิจการสหกรณ์ จนในที่สุดได้เลื่อนตำแหน่งเป็นรองเสนาบดี กระทรวงพาณิชย์

–  พ.ศ. ๒๔๕๔        พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ตั้งให้พระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัสเป็น องคมนตรี และ

โปรดเกล้า ฯ ให้ทรงกรม ฯ เป็น กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๖

–  พ.ศ. ๒๔๖๘         พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้พระราชวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ ดำรงตำแหน่งอุปนายก

กรรมการหอพระสมุดสำหรับพระนคร ซึ่งต่อมาได้รวมเข้ากับกรม ศิลปากร ต่อมาได้เปลี่ยนจากหอสมุดสำหรับพระนครเป็น “ ราชบัณฑิตยสภา ”

พระนิพนธ์ และ พระนิพนธ์แปล  ได้แก่  สงครามญี่ปุ่น กับ รัสเซีย ๒ เล่ม , จดหมายจางวางหร่ำ , สืบราชสมบัติ , พระนลคำฉันท์ , ตลาดเงินตรา , นิทานเวตาล , กนกนคร , ความนึกในฤดูหนาว , ปาฐกถา เล่ม ๑ , ปาฐกถา เล่ม ๒ , ประมวญนิทาน น.ม.ส. , เห่เรือ ทูลเกล้า ฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว , กลอนและนักกลอน , คำทำนาย , เครื่องฝึกหัดเยเตลแมนในออกซ์ฟอร์ดและเคมบริดจ์ , เสภาสภา , ปฤษาณาเถลิงศก และ สามกรุง

ค. 2

การอ้างอิงข้อมูลสารสนเทศ

                การอ้างอิง  หมายถึง  การบอกแหล่งที่มาของข้อความที่ใช้อ้างอิง ในเนื้อหาที่นำมาเขียนเรียบเรียง ปัจจุบันในสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ นิยมใช้ คือ  การอ้างอิงแบบแทรกปนในเนื้อหา ซึ่งมี ๒ ระบบ ( ส่งศรี ดีศรีแก้ว, ๒๕๓๔ : ๗๘ ) คือ
. ระบบนาม – ปี ( Author – date)
ระบบนาม – ปี เป็นระบบที่มีชื่อผู้แต่ง, ปีที่พิมพ์ และเลขหน้า ที่อ้างอิงอยู่ภายใน

วงเล็บ ดังตัวอย่าง
( ชื่อผู้แต่ง.  ปีที่พิมพ์ : เลขหน้าที่อ้างอิง )
๒.  ระบบหมายเลข ( Number System )  เป็นระบบที่คล้ายคลึงกับระบบนาม – ปี แต่

ระบบนี้จะใช้หมายเลขแทนชื่อผู้แต่งเอกสารอ้างอิง มีอยู่ ๒ วิธี คือ
๑ ) ให้หมายเลขตามลำดับของการอ้างอิง
๒ ) ให้หมายเลขตามลำดับอักษรผู้แต่ง

          บรรณานุกรม ( Bibliography ) หมายถึง รายการของทรัพยากรสารสนเทศทั้งหมดที่ผู้ทำรายงานได้ใช้ประกอบการเขียนรายงาน ทั้งที่ปรากฏชัดเจนโดยเขียนอ้างอิงไว้ และส่วนที่ไม่ปรากฏชัดเจน แต่อาจเป็นเพียงการรวบรวมความคิดหลาย ๆ แนว แล้วนำมาเรียบเรียงใหม่  เช่น

๑. บรรณานุกรมหนังสือภาษาไทย                

                  แบบ ก
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการ

พิมพ์, / / / / / / / /ปีที่พิมพ์.

                  แบบ ข
                  ชื่อ / ชื่อสกุล. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์. / / เมืองที่พิมพ ์/ :

ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.

                  ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  กิตติกร  มีทรัพย์. จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก. พิมพ์ครั้งที่ ๓.  กรุงเทพฯ : ธุรกิจการ

พิมพ์,๒๕๔๔.

 
                  แบบ ข
                  กิติกร  มีทรัพย์.  (๒๕๔๔).  จิตวิทยาการเลี้ยงดูเด็ก.  พิมพ์ครั้งที่ ๓.

กรุงเทพฯ : ธุรกิจการพิมพ์.

          . บรรณานุกรมหนังสือภาษาอังกฤษ
                  แบบ ก
                  ชื่อสกุล. / ชื่อต้น / ชื่อกลาง(ถ้ามี). / / ชื่อเรื่อง. / / ครั้งที่พิมพ์./ /เมืองที่พิมพ ์/:/

ผู้รับผิดชอบ / / / / / / /ในการพิมพ์./ / ปีที่พิมพ์.

                  แบบ ข

ชื่อสกุล./อักษรย่อชื่อต้น / อักษรย่อชื่อกลาง(ถ้ามี). / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / /

ครั้งที่พิมพ์./ / / / / / / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการพิมพ์.

                  ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  Hartley, Eric Key.  Childhood and society.  2 nd ed. New York : Mc Graw –
                                          Hill, 1989.
                  แบบ ข
                  Hartley, E.K. (1989). Childhood and Society. 2 nd ed. New York : MC Graw

-Hill.

             ๓. บรรณานุกรมวิทยานิพนธ์
                  แบบ ก
                  ชื่อผู้เขียน. / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์. / / ชื่อเมืองที่พิมพ์ / : / ชื่อ

มหาวิทยาลัย, / / / / / / / / ปีที่พิมพ์.

                  แบบ ข
                  ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อเรื่อง. / / ระดับวิทยานิพนธ์, / ชื่อสาขา / คณะ /
                                         / / / / / / / ชื่อมหาวิทยาลัย.
                  ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติในโรงพยาบาล
                                        นครพิงค์จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๐.
แบบ ข
                  ภัคพร  กอบพึ่งตน.  (๒๕๔๐).  การประเมินคุณภาพการพยาบาลผู้คลอดปกติใน

โรงพยาบาลนครพิงค์ จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์
พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต,  สาขาวิชาการบริหารการพยาบาล
บัณฑิตวิทยาลัย  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

            . บรรณานุกรมบทความจากหนังสือ
                  แบบ ก
                  ชื่อผู้เขียน./ / ” ชื่อตอนหรือบทความ ” / ใน / ชื่อหนังสือ. / / หน้า / เลขหน้า. / /

ชื่อบรรณาธิการ/ / / / / / / (ถ้ามี)./ / เมืองที่พิมพ์ / : / ผู้รับผิดชอบในการ

พิมพ์, /ปีที่พิมพ์.

                  แบบ ข
                  ชื่อผู้เขียน. / / (ปีที่พิมพ์). / / ชื่อบทความ. / / ใน / ชื่อบรรณาธิการ (บรรณาธิการ)(ถ้ามี).

/ / / / / / / / / ชื่อหนังสือ. / / (หน้า / เลขหน้า). / / เมือง / : / ผู้รับผิดชอบ

ในการพิมพ์.

                   ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  สมจิต   หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ.  “การประเมินผลการพยาบาล”  ใน
                                           เอกสารการสอนชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ ๘-

๑๕. หน้า ๗๔๙ – ๗๘๑.  มยุรา  กาญจนางกูร, บรรณาธิการ.

                                            กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, ๒๕๓๖.
                  แบบ ข
                  สมจิต  หนุเจริญกุล  และ  ประคอง  อินทรสมบัติ. (๒๕๓๖).  การประเมินผลการ

พยาบาลใน ใน มยุรา  กาญจนางกูร (บรรณาธิการ). เอกสารการสอน

                                            ชุดวิชามโนมติและกระบวนการพยาบาล หน่วยที่ ๘ – ๑๕.
                                            (หน้า ๗๔๙- ๗๘๑). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

 

 

 

          ๕. บรรณานุกรมบทความจากวารสาร

                แบบ ก
                ชื่อผู้เขียน. / / “ชื่อบทความ” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่ (ฉบับที่) / : / เลขหน้า;

/ / / / / / / / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.

               แบบ ข
               ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, / วัน / เดือน). / / ชื่อบทความ. / / ชื่อวารสาร. ปีที่หรือเล่ม(ฉบับที่), /
                                          / / / / / / /เลขหน้า.
               ตัวอย่าง
               แบบ ก
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  “การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่

ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการและระบบคุณภาพ”

                                        กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์.  ๔๖(๓) : ๑๔๒ – ๑๕๓ :

กรกฎาคม – กันยายน ๒๕๔๗.

               แบบ ข
               วิทยาคม  ยาพิศาล.  (๒๕๔๗,กรกฏาคม – กันยายน). การพัฒนาคุณภาพระบบงานศูนย์

วิทยาศาสตร์การแพทย์เชียงใหม่ตามแนวทางการตรวจติดตามทางวิชาการ

และระบบคุณภาพ.  กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ๔๖(๓), ๑๔๒ – ๑๕๓.

           . บรรณานุกรมคอลัมน์จากวารสาร
                แบบ ก
                ชื่อผู้เขียน. / /”ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” / ชื่อวารสาร. / / ปีที่หรือเล่มที่(ฉบับที่)

/ :  / / / / / / /เลขหน้า ; / วัน (ถ้ามี) / เดือน / ปี.

                แบบ ข
                ชื่อผู้เขียน. / / (ปี, วัน / เดือน). / / ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์. / / ชื่อวารสาร. / / ปีที่

หรือ/ / / / / / /เล่มที่(ฉบับที่),/เลขหน้า.

               ตัวอย่าง
               แบบ ก
               วิทยา  นาควัชระ.  “คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการท่องเที่ยว” สกุลไทย.  ๔๐

(๒๐๔๗) : ๑๙๑ – ๑๙๒ ; ๒๖ ตุลาคม ๒๕๔๔.

               แบบ ข
               วิทยา  นาควัชระ.  (๒๕๔๔, ๒๖ ตุลาคม).  คุยกันเรื่องของชีวิต : ประโยชน์ของการ

ท่องเที่ยว. สกุลไทย. ๔๐(๒๐๔๗), ๑๙๑ – ๑๙๒.

          ๗. บรรณานุกรมคอลัมน์จากหนังสือพิมพ์
               แบบ ก
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / / “ชื่อคอลัมน์ / : / ชื่อเรื่องในคอลัมน์” /ชื่อหนังสือพิมพ์. / / วัน /

เดือน// / / / / / /ปี. / / หน้า / เลขหน้า.

               แบบ ข
               ชื่อผู้เขียนบทความ. / /(ปี, / วัน / เดือน). / /ชื่อคอลัมน์/ : /ชื่อเรื่องในคอลัมน์./ / ชื่อหนังสือ
                                           / / / / / / / พิมพ์, / หน้า / เลขหน้า
               ตัวอย่าง
               แบบ ก
               นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  “เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู” ไทยรัฐ.  ๕ มิถุนายน

๒๕๔๖.หน้า ๒.

                แบบ ข
                นิติภูมิ  เนาวรัตน์.  (๒๕๔๖, ๕ มิถุนายน). เปิดฟ้าส่องโลก : ตัวอย่างการอยู่ร่วมกัน : อียู.

ไทยรัฐ,หน้า ๒.

           ๘. บรรณานุกรมโสตทัศนวัสดุ
                แบบ ก
                ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ./ / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของโสตทัศนวัสดุ]./ / ชื่อเมือง / :

/ / / / / / / / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ, / ปีที่จัดทำ.
แบบ ข

               ชื่อผู้จัดทำ,/ หน้าที่ที่รับผิดชอบ. / / (ปีที่จัดทำ). / / ชื่อเรื่อง. / / [ลักษณะของ

โสตทัศนวัสดุ]./ / / / / / / / / ชื่อเมือง / : / ผู้รับผิดชอบในการจัดทำ.

                ตัวอย่าง
                แบบ ก
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย.  ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาลคลินิก.
                                             [เทปโทรทัศน์].   ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์

มหาวิทยาลัยขอนแก่น, ๒๕๓๗.

                แบบ ข
                สายหยุด  นิยมวิภาต, ผู้บรรยาย. (๒๕๓๗). ประเด็นปัญหาการวิจัยทางการพยาบาล

คลินิก.[เทปโทรทัศน์].  ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์

                                               มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

. บรรณานุกรมสารสนเทศอิเล็กทรอนิกส์

.๑ ฐานข้อมูล ซีดี – รอม

                 แบบ ก
                 ผู้แต่ง. / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสือ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / /
                                                / / / / / / / เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ.
                 แบบ ข
                 ผู้แต่ง./ / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / /
                                               / / / / / / / รายละเอียดทางการพิมพ์(ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่ง

สารสนเทศ.

                ตัวอย่าง
                แบบ ก
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาลพิจิตร.
                                              [ซีดี – รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.  เชียงใหม่ :

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, ๒๕๔๕.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล

                                             วิทยานิพนธ์ไทย แผ่นที่ ๓, ๒๕๔๗.
                แบบ ข
                นพรัตน์  เพชรพงษ์.  (๒๕๔๕).  จำนวนวันนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรงพยาบาล

พิจิตร. [ซีดี – รอม].  วิทยานิพนธ์พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.

                                              สาขาวิชาการบริหารการพยาบาลบัณฑิตวิทยาลัย

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.  สาระสังเขปจาก : ฐานข้อมูล

                                              วิทยานิพนธ์ไทยแผ่นที่ ๓, ๒๕๔๗.
 

.๒ ฐานข้อมูลออนไลน์

                 แบบ ก
                 ผู้แต่ง./ / ชื่อเรื่อง./ / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียดทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / /
                                          เข้าถึงได้จาก / : /แหล่งสารสนเทศ. / / (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /

ปี).

                 แบบ ข
                 ผู้แต่ง. / / (ปีที่พิมพ์ / ผลิต,/ วัน / เดือน). / / ชื่อเรื่อง. / / [ประเภทของสื่อ]. / / รายละเอียด
                                           ทางการพิมพ์ (ถ้ามี). / / เข้าถึงได้จาก / : / แหล่งสารสนเทศ. / /
                                          (วันที่ค้นข้อมูล / : / วัน / เดือน /ปี).
                   ตัวอย่าง
                  แบบ ก
                  พิมลพรรณ  พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

http : / / http://www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖).

                   เรวัติ  ยศสุข.  “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.”  ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. ๖(๖) ;
                                          กุมภาพันธ์ – มีนาคม ๒๕๔๖.  เข้าถึงได้จาก :

http : // www.kalathai.com/think/view_hot. ?article_id= ๑๖.

                                          (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๗)
                   แบบ ข
                   พิมลพรรณ   พิทยานุกูล.  วิธีสืบค้นวัสดุสารสนเทศ. [ออนไลน์].  เข้าถึงได้จาก :

http : / / http://www.lib.buu.ac.th.  (วันที่ค้นข้อมูล : ๑๖ กันยายน ๒๕๔๖).

                   เรวัติ  ยศสุข.  (๒๕๔๖,กุมภาพันธ์ – มีนาคม).  “ผลิตภัณฑ์ใต้วงแขนอันตราย.”

ฉลาดซื้อ.  [ออนไลน์]. ๖(๖) เข้าถึงได้จาก :
http : / / http://www.kalathai.com/think/view_hot. ? article_id = ๑๖.

                                          (วันที่ค้นข้อมูล : ๒๐ มิถุนายน ๒๕๔๗).

 

ค. 2

หลักการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม 

ความหมาย

การพินิจ คือ การพิจารณาตรวจตรา พร้อมทั้งวิเคราะห์แยกแยะและประเมินค่าได้

ทั้งนี้นอกจากจะได้ประโยชน์ต่อตนเองแล้ว ยังมีจุดประสงค์เพื่อนำไปแสดงความคิดเห็นและข้อเท็จจริงให้ผู้อื่นได้ทราบด้วย เช่น การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมเพื่อแนะนำให้บุคคลทั่วไปที่เป็นผู้อ่านได้รู้จักและได้ทราบรายละเอียดที่เป็นประโยชน์ในด้านต่าง ๆ เช่น ใครเป็นผู้แต่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับอะไร มีประโยชน์ต่อใครบ้าง ทางด้านใด ผู้พินิจมีความเห็นว่าอย่างไร คุณค่าในแต่ละด้านสามารถนำไปประยุกต์ให้เกิดประโยชน์อย่างไรในชีวิตประจำวัน

แนวทางในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม

การพินิจวรรณคดีและวรรณกรรมมีแนวให้ปฏิบัติอย่างกว้าง ๆ เพื่อให้ครอบคลุมงานเขียนทุกชนิด ซึ่งผู้พินิจจะต้องดูว่าจะพินิจหนังสือชนิดใด มีลักษณะเฉพาะอย่างไร ซึ่งจะมีแนวในการพินิจที่จะต้องประยุกต์หรือปรับใช้ให้เหมาะสมกับงานเขียนนั้น ๆ

หลักเกณฑ์กว้าง ๆ ในการพินิจวรรณคดีและวรรณกรรม มีดังนี้

๑.  ความเป็นมา หรือ ประวัติของหนังสือและผู้แต่ง  เพื่อช่วยให้วิเคราะห์ในส่วนอื่น ๆ ได้ดีขึ้น

                ๒.  ลักษณะคำประพันธ์

                ๓.  เรื่องย่อ

                ๔.  เนื้อเรื่อง ให้วิเคราะห์เรื่องตามหัวข้อต่อไปนี้ตามลำดับ โดยบางหัวข้ออาจจะมี หรือไม่มีก็ได้ตามความจำเป็น เช่น โครงเรื่อง ตัวละคร ฉาก วิธีการแต่ง ลักษณะการดำเนินเรื่อง การใช้ถ้อยคำสำนวนในเรื่อง ท่วงทำนองการแต่ง วิธีคิดที่สร้างสรรค์  ทัศนะหรือมุมมองของผู้เขียน เป็นต้น

๕.  แนวคิด จุดมุ่งหมาย

เจตนาของผู้เขียนที่ฝากไว้ในเรื่อง หรือบางทีก็แฝงเอาไว้ในเรื่อง ซึ่งจะต้องวิเคราะห์ออกมา

๖.  คุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม

ซึ่งโดยปกติแล้วจะแบ่งออกเป็น ๔ ด้านใหญ่ ๆ และกว้าง ๆ เพื่อความครอบคลุม  ในทุกประเด็น ซึ่งผู้พินิจจะต้องไปแยกแยะหัวข้อย่อยให้สอดคล้องกับลักษณะหนังสือที่จะพินิจนั้น ๆ ตามความเหมาะสมต่อไป

การพินิจคุณค่าของวรรณคดีและวรรณกรรม  มี ๔ ประเด็นดังนี้

๑.  คุณค่าด้านวรรณศิลป์

คือ ความไพเราะของบทประพันธ์ ซึ่งอาจจะเกิดจากรสของคำที่ผู้แต่งเลือกใช้ และรสความที่ให้ความหมายกระทบใจผู้อ่าน

 ๒.  คุณค่าด้านเนื้อหา

คือ การให้ความรู้ด้านต่าง ๆ ให้คุณค่าทางปัญญาและความคิดแก่ผู้อ่าน

๓.  คุณค่าด้านสังคม

วรรณคดีและวรรณกรรมสะท้อนให้เห็นภาพของสังคมในอดีตและวรรณกรรมที่ดี สามารถจรรโลงสังคมได้อีกด้วย

๔.  การนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน

เพื่อให้ผู้อ่านได้ประจักษ์ในคุณค่าของชีวิต ได้ความคิดและประสบการณ์จากเรื่องที่อ่าน และนำไปใช้ในการดำเนินชีวิต นำไปเป็นแนวปฏิบัติหรือแก้ปัญหา

ค. 2

 

Leave a comment